» มข. เยือน สถาบันวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences:CAS) และสถาบันวิจัยด้านสารสนเทศทางอวกาศ (Aerospace Information Research Institute: AIR) สาธารณรัฐประชาชนจีน ยกระดับความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัย (345 Views)

เมื่อวันเสาร์ที่ 16 พ.ย. 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราวรรณ โตภาคงาม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ รศ.ดร.เกียรติไชย ฟักศรี คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย พร้อมด้วย นางวิลาวัณย์ อังสุนันทวิวัฒน์ เข้าศึกษาดูงาน เจรจาความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัย และฟังบรรยายสรุปความเป็นมาและความสำคัญของสถาบันวิจัยด้านสารสนเทศทางอวกาศ (Aerospace Information Research Institute: AIR) โดยมี Mr. Fang Guangyou President คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง 

คณะผู้บริหาร มข. ยังได้เล็งเห็นโอกาสในการขยายความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัย และหารือความร่วมมือในอนาคตด้านการแลกเปลี่ยนบุคลากร และนักศึกษา, ตลอดจนได้เรียนรู้การพัฒนามหาวิทยาลัยในการเป็นศูนย์กลางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมในระดับประเทศและในระดับโลก โดยในอนาคต มข. มีแผนที่จะจัดทำความร่วมมือทางด้าน 1) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านรามานสเปกโตสโคปี (Raman Spectroscopy) ทางการแพทย์และอื่นๆ 2) ชีววิทยาทางการแพทย์การประยุกต์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่เทระเฮริตซ์ด้านการแพทย์และอุตสาหกรรมอื่นๆ 3) การวิจัยเชิงประยุกต์ด้าน Autofast laser 4) การศึกษาวิจัยด้าน Satellite Information System และ Remote Sensing and Digital Earth 5) การศึกษาวิจัยด้านการพัฒนา Semin Conductor และห้องปฏิบัติการ Raman

สถาบันวิจัยด้านสารสนเทศทางอวกาศ (Aerospace Information Research Institute: AIR) ภายใต้สถาบันวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences: CAS) ก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 โดยรวมสามสถาบันของ CAS คือ สถาบันอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electronics: IECAS), สถาบันการรับรู้ระยะไกลและโลกดิจิตอล (Institute of Remote Sensing and Digital Earth: RADI), และสถาบันของประเทศจีนสำหรับงานออปติค-อิเล็กทรอนิกส์ (Academy of Opto-Electronics: AOE) รวมไปถึงการเชื่อมโยงบริษัท Startup ที่หลากหลายรวมอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อสร้างระบบนิเวศน์เชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยและนวัตกรรมและอุตสาหกรรม การรวมกันของสถาบันและบริษัทในระบบนิเวศน์เหล่านี้เน้นถึงความพยายามของ CAS ในการปรับปรุงระบบวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต AIR เป็นสถาบันวิจัยที่รวมการวิจัยและการศึกษาระดับสูงเข้าด้วยกัน มุ่งมั่นที่จะฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถให้แก่ประเทศและสร้างโรงเรียน UCAS ให้เป็นโรงเรียนอันดับต้น ๆ ในสาขาวิชาด้านเออร์โรสเปซและออปโต-อิเล็กทรอนิกส์

AIR มีพนักงานจำนวนราว 4,000 คน ซึ่งรวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ CAS, ศาสตราจารย์, นักวิจัยระดับระดับสูงกว่า 600 คน นอกจากนี้ยังมี UCAS School of Electronics, Electrical and Communication Engineering และ UCAS School of Opto-electronics ซึ่งให้การฝึกอบรมแก่นักศึกษาโทและปริญญาเอกกว่า 1800 คน AIR ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำระดับนานาชาติ เช่น International Journal of Digital Earth, Microsystems & Nanoengineering, Big Earth Data, Satellite Navigation และ Journal of Remote Sensing  

ข่าว/ภาพ: นางวิลาวัณย์ อังสุนันทวิวัฒน์ นักวิเทศสัมพันธ์ ชำนาญการ


Poster : พราวแสง ภูสิงหา [Ms. Prowsaeng Poosinghar] | 20 พฤศจิกายน 66