ขอแสดงความยินดีกับ นายจิรเมธ พฤกษะวัน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้รับรางวัล Bronze Award , นางสาวพิมพ์ชนก สงวนศักดิ์ ได้รับรางวัล Best color choice awards , และ นายวรันธรณ์ พูลสวัสดิ์ ได้รับรางวัล Qualification Architecture Award ในการประกวด Asia Young Designer Awards Thailand 2021 ซึ่งลงแข่งประเภทงานสถาปัตยกรรม (Architectural Category) ประกาศผลและรับรางวัลเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 ที่ True Digital Park ชั้น 6 สุขุมวิท 101 กรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมา
โดยผลงานของนายจิรเมธ พฤกษะวัน ได้รับรางวัล Bronze Award มีชื่อผลงานว่า Laborer Architecture (สถาปัตยกรรม ผู้ใช้แรงงาน) แนวคิด การมีอยู่ของผู้สร้างงานสถาปัตยกรรมให้เกิดขึ้นได้ เเละ สามารถใช้งานได้จริง เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดมุมมองทางความคิดที่เเปรเปลี่ยนมาเป็นภาพลักษณ์ของตัวบุคคลหรือลักษณะเฉพาะทางอาชีพ ส่งผลให้เกิดเเนวคิดที่เกิิดจากผู้ออกเเบบได้มองผ่านงานที่บุคคลอาชีพนี้ทำหรือมุมมองที่เกิดจากกายยภาพที่ทำให้เห็นข้อเเตกต่าง อันส่งผลให้เกิดงานสถาปัตยกรรมเฉพาะตัวบุคคลอาชีพนี้ขึ้นมา ให้สามารถอยู่อาศัยเเละถูกรื้อถอนออกไปตามการย้ายถิ่นฐานของบุคคลเหล่านี้ ให้มีวิธีชิวิตที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เเละใช้ความสามารถที่มีทำให้เกิดงานสถาปัตยกกรรมนี้ขึ้นมาได้
ผลงานของนางสาวพิมพ์ชนก สงวนศักดิ์ ที่ได้รับรางวัล Best color choice awards มีชื่อผลงานว่า Northeastern of Disaster Prevention and Education Centre เรียกสั้นๆว่า NPEC แนวคิดในการออกแบบมาจาก โครงการนี้คิดมาเพื่อให้เราสามารถป้องกัน และรับมือภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ให้เราสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเข้าใจ concept design คือการ divergent ที่ตัวอาคารถูกคิดมาจากการจำลองแผ่นธรณีที่มีความทึบหนา ให้เคลื่อนที่มาชน และแยกออกกัน ซึ่งจะแสดงผ่านผังพื้น รูปด้าน และรูปตัด โทนสีเลือกใช้ที่เป็นโทนธรรมชาติเป็นหลัก ตัวผนังจะทำพื้นผิวและทาสีน้ำตาลให้เหมือนเป็นผนังดิน การคิดงานภูมิทัศน์เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นอนาคตมีบอร์ดชะลอน้ำฝนและพื้นที่ซับน้ำภายในโครงการให้เป็นพื้นที่ตัวอย่างในบริบทเมือง
นศ.สถาปัตย์ คว้ารางวัลในเวทีประกวด “Asia Young Designer Awards 2021”
และสุดท้ายผลงานของนายวรันธรณ์ พูลสวัสดิ์ ได้รับรางวัล Qualification Architecture Award มีชื่อผลงานว่า โครงการ Loneliness haus เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น มนุษย์จึงค่อย ๆ ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ทำให้เกิดปัจจัยต่างๆตามมา ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ”ความเหงา” เมื่อคนเรามีความเหงาที่มากขึ้นก็จะหันหน้าเข้าสู่ Social media ในการบำบัดความเหงา ซึ่งในทางการแพทย์อ้างว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบตามมานำไปสู่ Depression หรือที่เราเรียกกันว่าโรคซึมเศร้านั่นเอง ดังนั้นหากมีกิจกรรมหรือสถานที่ที่สามารถบำบัดคนเหงาได้ก็คงจะดี เพราะเชื่อว่ามนุษย์คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด โดยแนวคิดการออกแบบ ใช้ความโดดเดี่ยวเดียวดายของ user ที่เข้ามาใช้งานหล่อหลอมให้เป็นพื้นที่เดียวกัน หมายถึง space และ function ภายในจะต้องสร้างอารมณ์ที่เกิดจากความเหงาสู่ความร่าเริงเหมือนการเดินทางไปสู่พื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับ user ทั้งนี้ตัวสถาปัตยกรรมจะออกมาในรูปแบบของความนิ่งสงบที่แฝงความว่างเปล่าแต่ยังคงความสนุกสนาน โดยการใช้ element movement และตัด plane ด้วยความเรียบง่าย ทำให้ตัวสถาปัตยกรรมเกิดจังหวะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งความเหงาอาจตีโจทย์ได้จากความว่างเปล่า แต่จะใช้ตัวสถาปัตยกรรมเป็นตัวเติมเต็ม ทั้งในเรื่องของ form tone color และ material เพื่อให้คนเหงาที่เข้ามาอย่างว่างเปล่า เมื่อกลับออกไปต้องได้รับการเติมเต็มและประสบการณ์ต่างๆ
ในปีนี้โจทย์ของการประกวด “Asia Young Designer Awards” จัดขึ้นในหัวข้อ “FORWARD: Amplifying Empathy Through Design” เพื่อเน้นย้ำให้ “นักออกแบบ” รุ่นใหม่มุ่งสร้างสรรค์ผลงานผ่านกระบวนการคิดและทำความเข้าใจถึงปัญหาของผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง เพื่อดึงความต้องการ ความจำเป็น และปัญหาของผู้ใช้งานมาออกแบบ นำเสนอเป็นโซลูชันงานออกแบบที่ผสานทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้งานรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านกายภาพ จิตใจ อารมณ์ สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ประเภทการประกวดงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การออกแบบงานสถาปัตยกรรม (Architectural Category) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป จะต้องนำเสนอโซลูชันงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่สร้างประโยชน์ ตอบโจทย์ และเข้าใจผู้คน สังคม และสภาพแวดล้อมที่สะท้อนความเป็นจริงในปัจจุบัน พร้อมประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อดึงดูดให้ผู้คนมาใช้งาน โดยผลงานการออกแบบดังกล่าวจะต้องอยู่บนพื้นที่ไม่เกิน 40,000 ตารางเมตร
การออกแบบตกแต่งภายใน (Interior Design Category) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป จะต้องนำเสนอผลงานการออกแบบพื้นที่ภายในที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ทั้งทางกายภาพและอารมณ์ ตลอดจนให้ความสำคัญกับองค์ประกอบโดยรอบ รวมทั้งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่และชุมชนรอบข้าง โดยจะต้องถูกจัดสรรอยู่บนพื้นที่ไม่เกิน 2,800 ตารางเมตร
ซึ่งความสำเร็จของนักศึกษาที่ได้มานี้ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ รศ.กุลศรี ตั้งสกุล , ผศ. ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ และ ผศ.รท.อรรถ ชมาฤกษ์ ที่เป็นที่ปรึกษาและคอยช่วยแนะนำแนวทางงานประกวดให้กับนักศึกษาจนประสบผลสำเร็จ
ภาพ : Asia Young Designer Awards Thailand
ข่าว : กรรณภัสส์ สิริเกียรติ
ที่มา: https://th.kku.ac.th/84880/
Poster : พราวแสง ภูสิงหา [Ms. Prowsaeng Poosinghar] | 20 ธันวาคม 64